วันพฤหัสบดีที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2555

แผนการเรียนรู้


แผนการเรียนรู้

แผนการเรียนรู้การเรียนการสอนโดยใช้นวัตกรรม Weblog

วิชา พลศึกษา สาระที่ 3 เรื่อง การเคลื่อนไหว การออกกำลังกาย กาเล่นเกม กีฬาไทยและกีฬาสากล



มาตรฐาน พ ๓.๑

เข้าใจมีทักษะในกาเคลื่อนไหวกิจกรรมทางกาย การเล่นเกมและกีฬา

ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 3


สัปดาห์ที่

ตัวชี้วัด

สาระแกนกลาง

เนื้อหา

1

นำหลักการ ความรู้และทักษะในการเคลื่อนไหวกิจกรรมทางกายการเล่นเกม และการเล่นกีฬาไปใช้สร้างเสริมสุขภาพอย่างต่อเนื่องเป็นระบบ

การนำหลักการ ความรู้ ทักษะในการเคลื่อนไหวกิจกรรมทากาย การเล่นเกม การเล่นกีฬาไปใช้เป็นระบบสร้างเสริมสุขภาพอย่างต่อเนื่อง

ศึกษาประวัติความเป็นมาของวิชากระบี่กระบอง

2

เล่นกีฬาไทยและกีฬาสากลได้อย่างละ ๑ ชนิด โดยใช้เทคนิคที่เหมาะสมกับตนเองและทีม

เทคนิคและวิธีการเล่นกีฬาไทยและกีฬาสากลที่เลือก เช่นกรีฑาประเภทลู่ลาน วอลเล่ย์บอล บาสเกตบอล ดาบสองมือ

เทนนิส ตะกร้อข้ามตาข่าย ฟุตบอล

สืบค้นข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต






จุดประสงค์การเรียนรู้

1. เพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจประวัติความเป็นมากระบี่กระบอง

2.เพื่อให้ผู้เรียนได้รู้วิธีการป้องกันตัว และนำไปใช้อย่างถูกต้องและเหมาะสม

3.เพื่อให้ผู้เรียนนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้



สื่อการเรียนการสอน




กิจกรรมการเรียนรู้

1.จัดกลุ่มนักเรียนออกเป็น2 กลุ่ม กลุ่มละเท่าๆกัน

2.ให้นักเรียนสืบค้นข้อมูลโดยใช้สื่อทางอินเตอร์เน็ต

3.ให้นักเรียนดูสื่อวีดีทัศน์เกี่ยวกับประวัติความเป็นมา





การประเมินผล

1.ความเป็นมาของกระบี่กระบอง คือ

2.การขึ้นพรหมหมายถึงอะไร

3.การขึ้นพรหมมีกี่รูปแบบ อะไรบ้าง

4.การขึ้นพรหมแต่ละพรหมต้องมีกี่ทิศ

5.การขึ้นพรหมกระบี่กระบองต้องใช้ทำในโอกาสใด
6.ไม้รำกระบี่กระบองมีกีไม้รำ
7.ก่อนขึ้นพรมต้องปฏิบัติอย่างไรก่อน
8.กระบี่กระบองเป็นเกมของนักรบสมัยรัชกาลใด
9.ประโยชน์ของการเล่นกระบี่กระบอง
10.ปรมาจารย์กระบี่กระบองของไทยคือใคร


การประมวลผลรายวิชา

ประมวลรายวิชา (Course syllabus)



สาระการเรียนรู้ วิชา พลศึกษา

สาระที่ ๓
การเคลื่อนไหว การออกกำลังกาย การเล่นเกม กีฬาไทย และกีฬาสากล

มาตรฐาน พ ๓.๑
เข้าใจ มีทักษะการเคลื่อนไหว กิจกรรมทางกาย การเล่นเกมและกีฬา
ชั้น
มัธยมศึกษาปีที่

ตัวชี้วัด
๑. เล่นกีฬาไทยและกีฬาสากลได้อย่างละ ๑ ชนิดโดยใช้เทคนิคที่เหมาะสมกับตนเอง         
๒. นำหลักการ ความรู้และทักษะในการเคลื่อนไหว กิจกรรมทางกาย การเล่นกม และการเล่นกีฬาไปใช้สร้างเสริมสุขภาพอย่างต่อเนื่องเป็นระบบ
๓. ร่วมกิจกรรมนันทนาการอย่างน้อย ๑ กิจกรรมและนำหลักความรู้วิธีการไปขยายผลการเรียนรู้ให้กับผู้อื่น

สาระแกนกลาง          
๑. เทคนิคและวิธีการ กีฬาไทยและกีฬาสากลที่เลือก เช่น กรีฑา ประเภทลู่ลาน วอลเลย์บอลบาสเกตบอล ดาบสองทือ เทนนิส ตะกร้อข้ามตาข่าย ฟุตบอล
๒. การนำหลักการ ความรู้ ทักษะในการเคลื่อนไหว กิจกรรมทางกาาย การเล่นเกมการเล่นกีฬาไปใช้เป็นระบบสร้างเสริมสุขภาพอย่างต่อเนื่อง
๓. การจัดกิจกรรมนันทนาการแก่ผู้อื่น
มาตรฐาน พ ๓.๒
รักการออกกำลังกาย การเล่นเกม และการเล่นกีฬา ปฏิบัติเป็นประจำอย่างสม่ำเสมอ มีวินัย เคารพสิทธิ กฎ กติกา มีน้ำใจนักกีฬา มีจิตวิญญาณในการแข่งขัน และชื่นชม ในสุนทรียภาพของการกีฬา

ตัวชี้วัด
๑. มีมารยาทในการเล่นและดูกีฬาด้วยความมีน้ำใจนักกีฬา
๒. ออกกำลังกายและเล่นกีฬาอย่างสม่ำเสมอและนำแนวคิดหลักการจากการเล่นไปพัฒนาคุณภาพชีวิต ของตนด้วยความภาคภูมิใจ
๓. ปฏิบัติตนตามกฎ กติกา และข้อตกลงในการเล่นตามชนิดกีฬาที่เลือกและนำแนวคิดที่ได้ไปพัฒนาคุณภาพชีวิต ของตนในสังคม
๔. จำแนกกลวิธีการรุก การป้องกัน และใช้ในการเล่นกีฬาที่เลือกและตัดสินใจเลือกวิธีที่เหมาะสมกับทีมไปใช้ได้ตามสถานการณ์ของการเล่น
สาระแกนกลาง
๑. มารยาทในการเล่นและการดูกีฬาด้วยความมีน้ำใจนักกีฬา
๒. การออกำลังกายและการเล่นกีฬาประเภทบุคคล และประเภททีม
๒.๑ การนำประสบการณ์ แนวคิดจากการ ออกกำลังกายและเล่นกีฬาไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาคุณาภาพชีวิต
๓. กฎ กติกาและข้อตกลงในการเล่นกีฬาที่เลือกเล่น
     ๓.๑ การประยุกต์ประสบการณ์การปฏิบัติตามกฎ กติกา ข้อตกลงในการเล่นกีฬาไปใช้พัฒนาคุณภาพชีวิตของตนในสังคม
๔. วิธีการประยุกต์ใช้กลวิธีการรุกและการป้องกันในการเล่นกีฬาได้ตามสถานการณ์ของการเล่น


โครงสร้างเนื้อหาและปฏิทินการเรียน

สัปดาห์ที่ ๑ ทักษะเบื้องต้นของกีฬากระบี่กระบอง 15 นาที ( ทฤษฎี ) 45 นาที (ปฏิบัติ )

สัปดาห์ที่ ๒ กฎ กติกา มารยาทในการเล่นและการนับคะแนน 1 ชั่วโมง ( ทฤษฎี ) 
      

รูปแบบการเรียน

ปฏิบัติ ๑ ชั่วโมง

ทฤษฎี ๓ ชั่วโมง

การเรียนออนไลน์

การเรียนแบบผสมผสาน สัดส่วนของการจัดการเรียน 30 % ในชั้นเรียน
ออนไลน์ 20 %
ปฏิบัติ 50 % นอกชั้นเรียน
สื่อทางอินเทอร์เน็ต http://sportself-defence.blogspot.com/
การวัดและประเมินผล


ข้อสอบออนไลน์ โดยใช้กูเกิลฟอร์มและนำไปแสดงไว้บน Weblog


โครงงาน




โครงงานออกแบบระบบการเรียนการสอนโดยใช้นวัตกรรมweblog



วิชา พลศึกษา







เสนอโดย



(นาย/นางสาว)รพีภัทร บุตรน้อย รหัสประจำตัวนักศึกษา 53161301055



1.หลักการและเหตุผล
เทคโนโลยี Weblog ปัจจุบันกำลังเป็นที่นิยมกันอย่างแพร่หลาย เพราะสะดวกในการติดต่อสื่อสารและยังมีประโยชน์ในหลายๆด้าน ทางด้านการศึกษาได้นำเทคโนโลยี Weblog มาเป็นสื่อการสอนเพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจในรายวิชาวอลเลย์บอลได้ง่ายขึ้น และยังสามารถติดตามข้อมูลข่าวสารใหม่ๆทางด้านกีฬาวอลเลย์บอล และยังเป็นการส่งเสริมให้ผู้เรียนใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ได้อย่างถูกต้องและเกิดประโยชน์ในรายวิชาต่อไป

2. วัตถุประสงค์
1. เพื่อให้ผู้เรียนเข้าใช้เทคโนโลยี Weblog ได้อย่างถูกต้อง
2. เพื่อให้ผู้เรียนสามารถประยุกต์ใช้ทักษะที่ตนเองมีอยู่และทักษะต่อไปได้
3.
 เพื่อให้ผู้เรียนสามารถค้นหาทักษะใหม่ๆเข้ามาประยุกต์ใช้เพื่อที่จะเล่นเป็นทีมได้
4. เพื่อให้ผู้เรียนสามารถรู้ กฎ กติกา มารยาท ในการเล่นกีฬาวอลเลย์บอล

3. เป้าหมาย
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
4. วิธีการดำเนินการ
1. วิเคราะห์ข้อมูล
2. จัดเตรียมข้อมูลและเขียนแผนการสอน
3. กำหนดกิจกรรม เนื้อหา
4. เขียนโครงการเพื่อขอทำโครงการ
5. นำข้อมูลที่เตรียมไว้เพื่อที่จะเขียนโครงการในรูปแบบของสื่อการเรียนการสอน
6. กำหนดในการติดตามผล สำรวจการใช้งานของผู้เรียน
7. ติดตามผลการเรียนของผู้เรียน
8. สรุปผล และสอบถามปัญหาต่างๆในการใช้สื่อการเรียนการสอน

5. ผุ้รับผิดชอบโครงการ
นางสาว รพีภัทร บุตรน้อย นักศึกษาชั้นปีที่ 2 รหัสนักศึกษา 53161301055 คณะศึกษาศาสตร์

6. งบประมาณ
ไม่มี

7. สถานที่ดำเนินการ
1. ระบบ Internet ซึ่งดำเนิการติดตั้งและดูแลโดยสถาบันการพลศึกษาวิทยาเขตอุดรธานี
2. Weblog ที่ให้บริการโดย Google

8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
1. ผู้เรียนเข้าใช้เทคโนโลยี Weblog ได้อย่างถูกต้อง
2. ผู้เรียนสามารถประยุกต์ใช้ทักษะที่ตนเองมีอยู่และทักษะต่อไปได้
3.
 ผู้เรียนสามารถค้นหาทักษะใหม่ๆเข้ามาประยุกต์ใช้เพื่อที่จะเล่นเป็นทีมได้
4. ผู้เรียนสามารถรู้ กฎ กติกา มารยาท ในการเล่นกีฬาวอลเลย์บอล
 

วันเสาร์ที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2555

เนื้อหา


ประวัติกระบี่กระบอง


ประวัติกีฬากระบี่กระบอง
เริ่มต้นกระบี่กระบองที่แท้จริงนั้นไม่ทราบได้แน่ชัดว่า เริ่มกันมาตั้งแต่ครั้งไหนและใครเป็นผู้คิดค้นขึ้น เพราะไม่สามารถค้นคว้าจากแหล่งใดได้ ทั้งนี้อาจจะเป็นเพราะท่านครูบาอาจารย์รุ่นเก่าๆ ได้เคยเรียนและได้เคยสอนแต่ในทางปฏิบัติอย่างเดียวมิได้ห่วงใยในอันที่จะสั่งสอนในทางทฤษฎีเลย ฉะนั้นศิษย์จึงขาดความรู้ในด้านนี้กันเสียสิ้น แต่ด้วยเหตุที่ไทยเราเป็นนักรบแต่โบราณกาล กระบี่กระบองซึ่งเป็นเกมของนักรบก็น่าจะได้ริเริ่มกันเป็นเวลานานมาแล้วด้วยเหมือนกัน หลักฐานที่พอจะอ้างอิงได้นั้นคาดว่าคงมีแล้วในรัชกาลที่ 2 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เพราะพระองค์ได้ทรงพระราชนิพนธ์ไว้ในหนังสืออิเหนา ซึ่งมีข้อความตอนหนึ่งว่า
“ เมื่อนั้นท้าวหมันหยาปรีเปรมเกษมสันต์
เห็นอิเหนาเข้ามาบังคมคัล
จึงปราศรัยไปพลันทันที
ได้ยินระบือลือเล่า
ว่าเจ้าชำนาญการกระบี่
ท่าทางทำนองคล่องดี
วันนี้จงรำให้น้าดู
แล้วให้เสนากิดาหยัน
จัดกันขึ้นตีทีละคู่
โล่ดั้งดาบเชลยมลายู
จะได้ดูเล่นเป็นขวัญตา ”
ตามข้อความที่กล่าวนี้ย่อมจะชี้ให้เห็นว่า กระบี่กระบองคงเป็นที่รู้จักกันดีในสมัยนี้แล้ว ครั้นต่อมาในรัชกาลที่ 3 ท่านสุนทรภู่ได้แต่งเรื่องพระอภัยมณีกับศรีสุวรรณ สององค์พี่น้อง ทูลลาสมเด็จพระราชบิดาไปป่าเพื่อแสวงหาวิชาความรู้อันเป็นประเพณีนิยมจากอาจารย์ทิศาปาโมกข์ ซึ่งในที่สุดก็ได้พบเล่าเรียนกับอาจารย์ ผู้ซึ่งมีวิชาต่างกัน ดังปรากฏในข้อความตอนหนึ่งว่า
“ สิบห้าวันดั้นเดินในไพรสณฑ์
ถึงตำบลบ้านหนึ่งใหญ่หนักหนา
เรียกว่าบ้านจันตคามพราหมณ์พฤฒา
มีทิศาปาโมกข์อยู่สองคน
อาจารย์หนึ่งชำนาญในการปี่
ทั้งดีดสีแสนเสนาะเพราะหนักหนา
ผู้ใดฟังวังเวงในวิญญา
เคลิ้มนิทราลืมกายดังวายปราณ ”
ต่อมาในรัชกาลที่ 4 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงโปรดปรานกระบี่กระบองเป็นพิเศษ ถึงกับโปรดให้สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอหลายพระองค์ทรงหัดกระบี่กระบองจนครบวง และเมื่อปีขาล พุทธศักราช 2409 ซึ่งเป็นปีที่กำหนดให้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมกล้าเจ้าอยู่หัวทรงผนวชเป็นสามเณรตามราชประเพณี ครั้นเมื่อพระองค์ทรงผนวชแล้วโปรดฯ ให้สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอแต่งพระองค์อย่างราชกุมาร ทรงเล่นกระบี่กระบองเป็นการสมโภชที่หน้าพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม เจ้านายที่ทรงกระบี่กระบองในครั้งนั้นคือ


คู่ที่ 1 กระบี่กระบอง เจ้าฟ้าตุรนตรัศมี (สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระจักรพรรดิพงศ์)
พระองค์เจ้ากัมลาศเลอสรร (กรมหมื่นราชศักดิ์สโมสร)
คู่ที่ 2 พลอง พระองค์เจ้าคัดนางยุคล (กรมหลวงพิชิตปรีชากร)
พระองค์เจ้าทวีถวัลยลาภ (กรมหมื่นภูธเรศธำรงศักดิ์)
คู่ที่ 3 ง้าว พระองค์เจ้าสุขสวัสดิ์ (กรมหลวงอดิศรอุดมเดช)
พระองค์เจ้าทองกองก้อนใหญ่ (กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม)
คู่ที่ 4 ดาบ 2 มือ พระองค์เจ้าอุนากรรณอนันตนรชัย
พระองค์เจ้าชุมพลรัชสมโภช กรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์)
การเล่นกระบี่กระบองเริ่มฟักตัวเป็นการใหญ่ในแผ่นดินนี้เอง เพราะตามปกติ เมื่อพระเจ้าอยู่หัวทรงโปรดกีฬาอะไร กีฬาชนิดนั้นก็ย่อมเจริญและเฟื่องฟู ประชาชนพลเมืองก็หันหน้ามาเอาใจใส่ตามไปด้วย ฉะนั้นกระบี่กระบองจึงเล่นกันแพร่หลายในงานสมโภชต่าง ๆ เช่น งานโกนจุก งานบวชนาค งานทอดกฐิน งานทอดผ้าป่า ฯลฯ
เนื่องจากสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ ในรัชกาลที่ 4 ทรงเล่นกระบี่กระบองเป็นกันหลายพระองค์เช่นนี้ เข้าใจว่าพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวคงจะทรงกีฬาชนิดนี้เป็นในครั้งนั้นด้วยพระองค์เองด้วยเหมือนกัน เพราะตามหลักฐานปรากฏว่า พระองค์ได้เคยทรงศึกษาวิชามวยและวิชากระบี่กระบอง ฟันดาบกับหลวงพลโยธานุโยค ด้วยเหตุที่พระองค์ทรงเล่นเป็นนี้เองในรัชกาลของพระองค์ พระองค์จึงได้โปรดฯ ให้มีการตีกระบี่กระบองและชกมวยไทยหน้าพระที่นั่งในงานสมโภชอยู่เนืองๆ พระองค์เสด็จทอดพระเนตรและพระราชทานรางวัลแก่ผู้แสดงและแข่งขันบ่อยๆ ฉะนั้นกระบี่กระบองจึงเป็นที่รู้จักมักคุ้นกันมากในกรุง และอาจจะดูได้หลายครั้งในปีหนึ่งๆ สมัยนี้เป็นสมัยที่นิยมชมชอบกันมากที่สุด จึงทำให้กระบี่กระบองมีอยู่ดาษดื่น และมีมากคณะด้วยกัน
ครั้นถึงรัชสมัยรัชกาลที่ 6 ความครึกครื้นในการเล่นกระบี่กระบองชักจะลดน้อยลงไป ถึงแม้ว่าพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว จะทรงฝักใฝ่ในวิชานาฎศิลป์ และทรงเข้าพระทัยในศิลปะของวิชากระบี่กระบองก็ตาม แต่ก็ไม่ทรงโปรดปรานมากเท่ากับพระราชบิดาของพระองค์ ถึงกระนั้น ก็ยังมีการจัดกีฬาชนิดนี้ขึ้นถวายเพื่อถวายทอดพระเนตรบ้างเป็นครั้งคราว เช่น ในปีพุทธศักราช 2460 กับ 2462 กระทรวงศึกษาธิการ เนื่องในงานกรีฑาประจำปี ได้จัดการแสดงกระบี่กระบองขึ้นถวายทอดพระเนตรที่สนามหน้าสามัคยาจารย์สมาคม ในการแสดงทั้งสองครั้งนี้ ท่านอาจารย์ นาคเทพหัสดิน ณ อยุธยา ได้แสดงถวายทั้งสองครั้ง ครั้งแรกแสดงง้าว ครั้งหลังแสดงพลอง ในรัชกาลของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวนี้ กระบี่กระบองชักน้อยลงไป แต่มวยเป็นที่นิยมมากขึ้น เช่น สมัยที่มีการแข่งขันเก็บเงินค่าผ่านประตู เพื่อซื้ออาวุธให้เสือป่าที่สนามสวนกุหลาบวิทยาลัยเป็นต้น รู้สึกว่าสนุกสนานและครึกครื้นยิ่งอยู่พักหนึ่ง ครั้นต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 7 กระบี่กระบองก็ค่อยๆ หมดไปๆ จนเกือบจะหาดูไม่ค่อยได้
ท่านอาจารย์ นาค เทพหัสดิน ณ อยุธยา เป็นผู้หนึ่งที่ได้เล่าเรียนวิชานี้มาตั้งแต่ยังเป็นเด็กและเป็นผู้ที่รักใคร่ในศิลปะวิชานี้อยู่เสมอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อท่านได้แลเห็นต่างชาติเขาภูมิใจในศิลปะประจำชาติของเขา เช่น ชาติเยอรมันและญี่ปุ่น เขายกย่องวิชาฟันดาบและวิชายูโดของเขาว่าเป็นเลิศ พยายามสงวนและเผยแพร่ให้เป็นที่ประจักษ์แก่โลกมากเพียงใด ก็ยิ่งทำให้ท่านบูชาวิชากระบี่กระบองของไทยไว้เหนือสิ่งใด ๆ มากขึ้นเพียงนั้น ในโอกาสที่ท่านเป็นอาจารย์ใหญ่ของโรงเรียนพลศึกษากลาง ท่านได้เริ่มลองสั่งสอนนักเรียนพลศึกษากลางขึ้นเป็นครั้งแรก เมื่อ พ.ศ. 2478 ทดลองสอนอยู่ 1 ปี ได้ผลดีเป็นที่น่าพอใจของท่านผู้ใหญ่ จึงได้กำหนดวิชากระบี่กระบองไว้ในหลักสูตรของประโยคครูผู้สอนพลศึกษา เมื่อ ปี พ.ศ.2479 นับแต่นั้นมาได้มีผู้เล่าเรียนและสำเร็จมากขึ้นเป็นลำดับ




แหล่งที่มา http://www.youtube.com/watch?v=_x_CWYMG0B8